ติดต่อเรา

กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1
ถนนสนามบิน
ตำบลในเมือง
อำเภอเมืองชัยภูมิ
จังหวัดชัยภูมิ 36000
{fullWidth}

1 ความคิดเห็น

  1. เตือนการโกงคะแนนโอเน็ตรูปแบบหนึ่ง
    การเตือนนี้เกิดจากข้อสงสัยที่มีข้อมูลค่อนข้างเชื่อได้ว่ามีการทำเป็นระบบและเป็นการเตือนโดยที่ท่านสามารถตรวจสอบได้ทันที และตรวจสอบปีที่ผ่านมาได้ด้วย
    การโกงโอเน็ตที่ผ่านมาหลายคนมองไปที่การลอกข้อสอบ การบอกคำตอบ แก้ข้อสอบ หรือการกระทำอื่นๆ เพื่อให้นักเรียนมีคะแนนสูงขึ้น แต่การเตือนนี้ไม่ใช่
    ถ้ามีคนบอกข้อมูลว่าโรงเรียนแห่งหนึ่งมีนักเรียนที่กำลังจะสอบโอเน็ต “บกพร่องทางการเรียนรู้” ถึงประมาณ 1 ใน 3 ของจำนวนนักเรียนที่เข้าสอบโอเน็ต ท่านจะเชื่อหรือมีข้อสงสัยอะไรหรือไม่ และถ้าสมมุติว่าเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่มีนักเรียนสอบโอเน็ต 300 มีนักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้ 100 มันน่าจะฟังดูค่อนข้างแปลกๆ ถึงแม้ว่ามันอาจจะเป็นไปได้ที่นักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้มีถึง 1 ใน 3 แต่มันจริงหรือ?
    ลองเข้าไปดูที่นี่ ในระบบบริหารจัดการข้อมูลโรงเรียนเรียนรวมของ สพฐ.http://specialbasic.specialset.bopp.go.th/specialbasic/report_guest.php?p=12df&&report=2t เลือกดูเฉพาะโรงเรียนและปีที่ท่านสนใจ เป็นข้อมูลจำนวนนักเรียนพิการเรียนรวมที่โรงเรียนรายงานจริง เป็นยอดรวมทั้งโรงเรียน
    กลับมาดูการนำส่งข้อมูลนักเรียนผู้เข้าสอบโอเน็ต แต่ละโรงเรียนจะมีผู้รับผิดชอบกรอกข้อมูลนักเรียน ซึ่งมีข้อมูลอย่างหนึ่งที่ต้องกรอกด้วยคือนักเรียนที่เป็นเด็ก “ปกติ” หรือ “บกพร่องทางการเรียนรู้” แล้วท่านลองนำข้อมูลนักเรียนที่กำลังจะเข้าสอบโอเน็ต “ในระบบของ สทศ.” ที่เป็นเด็ก “บกพร่องทางการเรียนรู้” เปรียบเทียบกับ “ในระบบบริหารจัดการข้อมูล โรงเรียนเรียนรวม ของ สพฐ.” ดูว่าตรงกันหรือไม่
    สิ่งที่เกิดขึ้นคือ บางโรงเรียน “ไม่ตรงกัน”
    เนื่องจากระบบบริหารจัดการข้อมูล โรงเรียนเรียนรวม ของ สพฐ. มาจากการคัดกรองและเป็นข้อมูลจริงที่โรงเรียนต้องรายงาน แต่ระบบของ สทศ. ในการสอบโอเน็ต “ไม่เชื่อมโยงข้อมูลกัน” แต่เพียงให้ผู้รับผิดชอบในการกรอกข้อมูล “คลิก” ว่าเป็นเด็ก “ปกติ” หรือ “บกพร่องทางการเรียนรู้”
    เหมือนจะมีบางโรงเรียน “คลิก” ให้ข้อมูลไม่ตรงกัน หรือ “คลิก” ข้อมูลให้นักเรียนบางคนในระบบการสอบโอเน็ตเป็นเด็ก “บกพร่องทางการเรียนรู้” เพิ่มขึ้นมาดื้อๆ โดยไม่ใช่เป็นการคัดกรองผ่านระบบ
    ทั้งเด็ก “ปกติ” และ “บกพร่องทางการเรียนรู้” มีสิทธิ์สอบโอเน็ตตามปกติ มีคะแนนสอบจริงตามความรู้ของนักเรียน ไม่มีการบอกข้อสอบ แก้ข้อสอบ ลอกข้อสอบ ใดๆ ทั้งสิ้น แต่
    ทำไมบางโรงเรียนถึงอยากให้มีนักเรียนที่ “บกพร่องทางการเรียนรู้” เพิ่มขึ้นมาในระบบของ สทศ.
    เพราะระบบของ สทศ. จะไม่นำคะแนนของนักเรียนที่ “บกพร่องทางการเรียนรู้” มาคิดค่าเฉลี่ยคะแนนโอเน็ตของโรงเรียน
    เมื่อโรงเรียนเห็นว่านักเรียน “บางคน” น่าจะทำคะแนนสอบโอเน็ตได้น้อยและอาจจะดึงค่าเฉลี่ยของโรงเรียนลงก็เลย “คลิก” ให้เป็นเด็ก “บกพร่องทางการเรียนรู้” แบบดื้อๆ อย่างที่ว่า
    ข้อสงสัยนี้จะเป็น “นิทาน” หรือการ “โกง” รูปแบบหนึ่ง ท่านลองตรวจสอบดู
    หากเป็น “นิทาน” ก็คงเป็นความเข้าใจผิดต่อระบบการบริหารจัดการ แต่ถ้าเป็นการ “โกง” ก็คงเป็นสิ่งที่น่าจะต้องได้รับการแก้ไข เพราะการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จในระบบคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์สุดท้ายของผู้กระทำไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ดี การมุ่งหวังผลประโยชน์เมื่อคะแนนเฉลี่ยโอเน็ตของโรงเรียนสูง นั่นหมายถึง ความดีความชอบ ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ วิทยฐานะ หรืออื่นๆ ก็ตามมา คนที่ทำงานอย่างตั้งใจและสุจริตคงน่าเห็นใจ ผู้ที่เกี่ยวข้องในบทบาทอื่นๆ หรือผู้กำกับดูแล คงต้องคิดด้วยว่าจะมีผลอย่างไรถ้าเรื่องราวเหล่านี้เป็นจริงและมีการรับรู้ของสังคม
    อย่าเพิ่งเชื่อในเรื่องราวทั้งหมดนี้ ตรวจสอบให้แน่ใจ ถ้าจริงก็รีบแก้ไขตามบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบเท่าที่จะทำได้
    ขอขอบพระคุณ

    ตอบลบ
แสดงความคิดเห็น